การที่เราจะเลือกซื้อรถยนต์มือสองซักหนึ่งคัน เราควรจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
เตรียมดูเรื่องงบประมาณ
การเลือกซื้อรถยนต์มือสองมีวิธีดูรถกันอย่างไร
1. สภาพภายนอก เริ่มต้นดูกันตั้งแต่จอดอยู่ไกลๆ ซักหน่อยประมาณ 3 เมตร ดูรูปทรงของตัวรถทั้งหมด
ว่ามีการเอียงหรือไม่ หรือส่วนประกอบอื่นๆ เช่น
1.1 กันชนหน้า ไฟหน้า กระจังหน้า
ต้องได้รูปไม่โน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง
1.2 ฝากระโปรงหน้า
สังเกตร่องระหว่างฝากระโปรงกับแก้ม ต้องเป็นสันตรงกันทั้งสองข้าง
ด้านหน้าต้องตรงกันรับกับไฟหน้าและกระจังหน้า
1.3 เสาหลังคา ว่ามีการโน้มเอียงไปหรือไม่
มีความนูนโค้ง หรือเสียรูปไปจากของโรงงาน
1.4 หลังคา ว่ามีการเอียง การยุบ
หรือโค้งไม่ได้รูปอย่างไร
1.5 ประตู ร่องระหว่างประตู
ระหว่างแก้มหน้า เสาประตู ประตูหลัง จนถึงแก้มหลัง ว่าร่องประตูต่างๆ
สังเกตเปรียบเทียบกับรถป้ายแดง สังเกตว่าร่องประตูต่างๆ จะตรงกัน
1.6 กันชนท้าย และฝากระโปรงท้าย
ต้องตรงกันไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง
2. สีรถ ดูระยะเริ่มใกล้ 1 เมตร ดูสีรถรอบคัน
ว่ามีส่วนไหนที่ทำสีมาแล้วบ้าง สังเกตสีที่แตกต่าง ความเรียบของผิวรถ ตำหนิต่างๆ
เกี่ยวกับสี หรือว่าเคยทำสีมาทั้งคัน ถ้าทำสีมาทั้งคันแล้วต้องดูให้หนัก
ต้องสันนิษฐานว่าทำสีทั้งคันเพราะอะไร เจ้าของเดิมเบื่อไม่ชอบสีเดิม
สีซีดแล้วไม่สวย เกิดอุบัติเหตุทุกที่ หรือรุนแรงจนอู่ต้องตัดสินใจทำสีใหม่ทั้งคัน
3. เคาะฟังเสียง
โดยการแอบไล่เคาะรถบางส่วนหรือรอบคันเพื่อฟังเสียง รถที่ทำสีแล้วมักจะมีการโป๊ว
การโป๊วหนาย่อมหมายถึงอุบัติเหตุมาก เราสามารถเคาะดูเสียงที่แตกต่างกันได้
โดยการไล่เคาะฟังเสียงไปทั้งๆ คัน
4. คานหน้ารถ
ต้องเปิดฝากระโปรงหน้ารถดูว่า คานหน้าที่ยึดหม้อน้ำว่ามีการทำสีมาหรือไม่
มีการโป๊วสี หรือซ่อมมาอย่างไร สังเกตจากรูน็อตต่างๆ ต้องยังกลม
และหมายเลขหน้ารถต้องยังชัดเจน หรือแผ่นเพทต้องไม่เคยชำรุด
ทั้งคานบนล่างต้องได้รูป
5. ภายในห้องเครื่อง มีการทำสีมาแล้วหรือไม่ สังเกตรูปทรงต่างๆ ต้องจับผิดทุกจุด ทั้งรูน็อตต่างๆ
รูปทรงต่างๆ ว่าต่างจากของโรงงานมาอย่างไร
6. ภายในฝากระโปรงท้าย
เปิดดูว่าคานยึดฝากระโปรงท้าย เบ้ายึดไฟท้าย ห้องเก็บยางอะไหล่ ว่ามีการทำสี เคาะ
โป๊ว หรือ ตัดเชื่อมมาหรือไม่ ควรก้มดูด้านล่าง สังเกตหูลากรถ
ว่าต่างจากของเดิมมาอย่างไร
7. ใต้ท้องรถ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมองข้ามกัน
แต่ใต้ท้องรถบ่งบอกถึง การใช้งานแบบทุรกันดาร การตัดต่อตัวถัง การเสียรูปของตัวรถ
ความผุของตัวถังที่มักเริ่มจากพื้นรถเป็นอันดับแรก สังเกตเฟรมใต้ท้อง ความบุบครูด
สนิมที่เริ่มผุ หรือการแยกกันแล้วของตัวถังรถ
8. ภายในรถ ดูรถมาตั้งนานได้เปิดดูภายในกับเขาเสียที
ไม่ใช่จะซื้อรถต้องเปิดดูภายในเป็นอันดับแรก มาดูว่าต้องดูอะไรบ้าง
8.1 เบาะรถยนต์ ดูว่าเก่าขาด
หรือยุบตัวทางด้านไหน หรือเปลี่ยนใหม่มาแล้ว เปลี่ยนเพราะอะไร
ใช้งานหนักจนเบาะชำรุดมาก หรือเบาะเดิมไม่สวยถึงเปลี่ยนใหม่
8.2 คอนโซลหน้า เป็นของเดิมจากโรงงาน
ไม่เสียรูป มีการแตกที่ผิดปกติ หรือเปลี่ยนใหม่เพราะอะไร
8.3 หน้าปัด
เป็นการดูว่าหน้าปัดยังเป็นของเดิมตรงรุ่น ดูระยะกิโลการใช้งาน
แต่การเชื่อถือระยะกิโลเป็นหลัก ก็ยังเป็นการผิด เพราะสามารถปรับแต่งกันได้
หรือรถใช้น้อยแต่เครื่องพัง วิ่งลุยน้ำทุกวัน หรือใช้งานหนัก สู้เลือกรถใช้งานมาก
แต่ขับถนอมดีกว่า
8.4 พวงมาลัย และ หัวเกียร์
สังเกตพวงมาลัยว่า มีการยุบอย่างไร พวงมาลัยและหัวเกียร์ที่ผ่านการใช้งานหนัก
จะมีการสึกหรอสูง จนเป็นมัน เป็นรอยแตก สังเกตลายที่แตกต่างบนพวงมาลัย
8.5 ผ้าหลังคารถ
ว่ายังเป็นของเดิมมาจากโรงงาน มีการประกอบยึดใหม่ หรือเปลี่ยนใหม่เพราะอะไร
9. เครื่องยนต์ เป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อน สังเกตหาการซ่อมแซม สตาร์ทเครื่องฝังเสียง
เปิดฝาเติมน้ำมันเครื่อง แล้วสังเกตไอน้ำมันเครื่อง เสียงท่อไอเสีย ควันจากท่อ
หรือถ้ามีบุ๊กเซอร์วิสติดมา จะเป็นการดีครับ รองเปิดดูประวัติการซ่อม
และดูด้วยว่าต้องต้องตรงกับทะเบียนรถ และเลขไมล์ในตัวรถ
10. ช่วงล่าง และล้อยาง ทดลองหมุนโยกพวงมาลัยแรงๆ แต่การได้ทดลองขับขี่เป็นการดีที่สุด
ทดสอบการเกาะถนนทางตรงและทางโค้ง ศูนย์ของรถต้องไม่กินซ้ายกินขวาต้องรองเลี้ยวกลับรถแบบสุดๆ
ทั้งซ้ายและขวา การคืนพวงมาลัย ขึ้นเนินลูกระนาด หรือขับขี่บนทางขรุขระ
ทุกรูปแบบที่สามารถจะทดสอบได้ ถ้าสามารถไปที่อู่หรือสถานีบริการ ที่สามารถยกรถขึ้นด้วยเครื่องยกรถก็จะ สามารถดูบริเวณช่วงล่างใต้ท้องรถได้อีกด้วย
ข้อแนะนำ
การเลือกซื้อรถมือสอง
มีอีกหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึงอย่างที่ควรรู้ เช่น การตัดต่อตัวถังรถยนต์
การสวมทะเบียนรถ การทำเลขตัวถังขึ้นใหม่ การทำทะเบียนปลอม การซ่อมรถจากซากรถ
การดัดแปลงรถแท็กซี่
การดัดแปลงจากรถรถสองแถววิน แต่การเลือกที่ดีที่สุด
คือการหาผู้ที่เชี่ยวชาญดูรถและช่วยตัดสินใจให้ การซื้อจากเจ้าของรถที่รู้จักกัน
เต้นท์รถที่มีชื่อเสียงและไว้ใจได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วเต้นท์รถส่วนมากมักจะเลือกซื้อรถที่สภาพดี
เพื่อป้องกันการขาดทุน การขายไม่ได้ หรือปัญหาหลังการขายอยู่แล้ว